เทศกาลคเณศจตุรถี ประเทศอินเดีย รำลึกถึงวันประกาศเอกราช การจัดงาน ตามประเพณีชาวอินเดีย ซึ่งนอกจากมีพิธีกรรมการสักการะพระพิฆเนศแล้ว ตามความเชื่อก็ ยังมีนัยสำคัญอีกให้นึกถึงการสร้างประเทศอินเดีย ให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ เพราะว่าหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อประมาณ 75 ปีก่อน เทศกาลนี้ก็ค่อยๆ แพร่ขยายแผ่ไปทั่วประเทศอินเดียและทั่วโลก รวมมาถึงประเทศไทย ซึ่งได้มีการจัดงานในหลาย ๆ พื้นที่ huaysod

พระพิฆเนศ เทศกาลคเณศจตุรถี
ตามประเพณีของชาวอินเดีย เทศกาลคเณศ จตุรถี ได้เริ่มการจัดจัดวันแรกตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ และไปสิ้นสุดวันขึ้น 14 ค่ำ ตามที่ปฏิทินจันทรคติ ซึ่งปีนี้ไดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 9 กันยายน แต่แก่นหลักของเทศกาลนี้ นอกจากการสร้างความสามัคคีของชาวอินเดียแล้ว ยังสะท้อนถึงปรัชญาของเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ที่ชาวอินเดียได้นำมาเป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิต ไปสู่การพัฒนาประเทศ ที่มีความล้ำสมัยในด้านการศึกษา และเทคโนโลยีเช่นในปัจจุบัน
ดร.นพ.มโน เลาหวณิช ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ของประเทศอินเดีย ได้กล่าวว่า เทศกาลคเณศ จตุรถี นั้นเป็นงานเฉลิมฉลองที่มีความสำคัญของชาวอินเดีย หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อ 75 ปีก่อน และถือว่าเป็นเทพเจ้าที่เป็นสัญลักษณ์ของการกอบกู้ประเทศอินเดียหลังได้รับเอกราช เพราะพระพิฆเนศ นั้นเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ขจัดปัดเป่าอุปสรรคทั้งปวง ในปัจจุบันเป็นเทพเจ้า ที่มีคนรู้จักไปทั่วโลก เช่นเดียวกับประเทศไทยมีคนศรัทธาเป็นจำนวนมาก
มีความโดดเด่น ซึ่งชาวอินเดียต่างยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแสวงหาความรู้ เพราะว่าศีรษะเป็นช้าง มีใบหูใหญ่ จึงเปรียบเหมือนบุคลิกของการเป็นผู้ฟังที่ดี ส่วนงวงช้างเปรียบเหมือนกับการแสวงหาความรู้และข้อมูลตลอดเวลา นอกจากนี้ เป็นเทพเจ้าที่ไม่มีอาวุธประจำกาย แต่มีแต่ขนมคอยแจกให้กับผู้อื่น จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ใฝ่เรียน มีความเป็นนักปราชญ์
สำหรับเทศกาล คเณศจตุรถี
จึงเริ่มต้นครั้งแรกในอินเดีย ก่อนที่จะขยายความนิยมไปทั่วประเทศ โดยการจัดงานนั้นมีด้วยกัน 10 วัน โดยแต่ละวันจะมีพิธีกรรมที่แตกต่าง แต่วันที่สำคัญคือวันแรก ซึ่งมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ ส่วนในวันต่อมามีการอ่านบทสวด และมีการแจกอาหาร ขนมให้กับผู้ยากไร้ และพอถึงวันสุดท้ายของเทศกาลจะมีการนำองค์พระพิฆเนศไปลอยแม่น้ำ แต่ข้อห้ามสำคัญตลอดเทศกาลคือ ต้องห้ามฆ่าสัตว์
ส่วนสีสันสำคัญของเทศกาลก็เป็นการแห่องค์พระพิฆเนศ วนไปรอบเมือง ก่อนนำไปลอยในแม่น้ำตามความเชื่อ เพราะชาวอินเดีย ก็มีความเชื่อว่า แม่น้ำคงคา มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ว่าจะแห่เทพเจ้าอะไรก็ต้องนำไปลอยน้ำ และขณะเดียวกันจะมีการจุดเทียนชัย ด้วยจำนวนเลขคี่ ซึ่งจะต่างจากความเชื่อแบบจีน ที่ทำนิยมเลขคู่
ส่วนบทสวดช่วงเทศกาล ในแต่ละวันทางพราหมณ์ ต้องนำสวดคัมภีร์พระเวท ซึ่งไม่ต่ำกว่า 7 บท เมื่อสวดเสร็จแล้วก็มีการนำน้ำฝนมาให้ผู้ร่วมประกอบพิธีดื่ม โดยน้ำที่นำมาทำให้ดื่ม ต้องห้ามเป็นน้ำประปา เพราะมีความเชื่อว่าต้องเป็นน้ำฝนเท่านั้นที่มีความบริสุทธิ์เท่านั้น

ประวัติศาสตร์การสร้างชาติอินเดีย
จะมีความเกี่ยวโยงกับเทพเจ้ามาโดยตลอด จึงได้การปลูกฝังพิธีกรรมความเชื่อมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อทำให้เด็กได้ซึมซับ และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่เปรียบเสมือนกับปรัชญาของการดำเนินชีวิต
สำหรับคนไทย huaysodplus ก็ไม่อยากให้มีการบูชาพระพิฆเนศ แบบงมงาย แต่ควรต้องแสวงหาความรู้ พร้อมรับฟังผู้อื่นแบบเปิดใจกว้าง และพร้อมเรียนรู้กับปรัชญาในการดำเนินชีวิต แต่ถ้ามีผู้ที่สนใจก็สามารถเดินทางไปที่เทวสถานที่ได้มีการประกอบพิธี หรือว่าสวดมนต์เพื่อเจริญสติอยู่ที่บ้านของตนเองได้เช่นกัน
อ่านบทความอื่น ๆ ของเว็บหวยออนไลน์